เฮงคนจริง! ชี้ประเด็นทำบอลไทยล้าหลัง
วิทยา เลาหกุล ประธานเทคนิคสโมสร ชลบุรี เอฟซี ยก 7 ประเด็นสำคัญที่เป็นปัจจัยทำให้ฟุตบอลไทยล้าหลัง หลังมีโอกาสขึ้นเวทีแสดงความคิดเห็นในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Grow Together Workshop เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่ประเทศไทยฯ จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Grow Together Workshop” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมี มร.การ์เลส โรมาโกซา ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคสมาคมฯ พร้อมทีมงาน และ มร.เคลลี ครอสล์ ผู้เชี่ยวชาญจากฟีฟ่า บรรยายให้แก่สโมสรสมาชิกและตัวแทนจากอคาเดมี่ต่าง ๆ ที่มาเข้าร่วมงานแถลงข่าว เพื่อให้มีความเข้าใจในโครงการและระบบนิเวศน์ของการพัฒนาฟุตบอลเยาวชน Thai Football’s Ecosystem มากยิ่งขึ้น
โดยส่วนหนึ่งของงานได้รับเกียรติจาก “โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล อดีตประธานเทคนิคทีมชาติไทย ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเทคนิคของสโมสรชลบุรี เอฟซี ขึ้นเวทีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับฟุตบอลไทย ซึ่ง “โค้ชเฮง” ยกเหตุผลหลัก 7 ข้อ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของวงการฟุตบอลไทยที่ไม่พัฒนาตลอด 20 ปี หลังสุด
“ก่อนอื่นขอบคุณเลขาสมาคมฯ คุณพาทิศ (พาทิศ ศุภะพงษ์) และ Carles (การ์เลส โรมาโกซา) ประธานพัฒนาเทคนิคของสมาคมฟุตบอลไทย ที่คะยั้นคะยออยากให้ผมขึ้นเวทีพูดเกี่ยวกับฟุตบอลไทย….”
“ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ผมในตำแหน่ง AFC Commitee youth panel member ซึ่งต้องเข้าร่วมและรับรู้ถึงปัญหาต่างๆในเอเซีย และอาเซียน เพื่อยกระดับวงการฟุตบอลในเอเซียและนำปัญหาต่างๆเหล่านั้นมา แชร์วงการฟุตบอลในบ้านเรา ประเด็นหลักที่คุณ peter rudbaek นักวิเคราะห์ชาวเยอรมัน พูดถึงอุปสรรคในการพัฒนาในบ้านเรา ที่ล้าหลังไปถึง 20 ปี ก็คือ”
“อันดับแรก MAs คือสมาชิกสโมสรทั้งหลายแหล่ ในบ้านเราที่ไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือเท่าไหร่ มันคงไม่ grow together ตามสโลแกนของสมาคมฯหรอก ถ้าสมาชิกทั้งหมด ไม่ go together โครงการนำร่อง pirot project ที่ฟีฟ่า สมาคม และกองทุนพัฒนากีฬาที่ร่วมมือกัน มันจะขุดไม่เป็นร่องหรอกเพราะขาดความเชื่อ ขาดความร่วมมือของMAs”
“ปัญหาข้อที่สอง long term approach ในบ้านเราไม่ค่อยมีใครเห็นถึงความสำคัญ หลายคนไม่ชอบอะไรที่ต้องทำนานๆเพราะอดทนรอไม่ได้”
“ข้อสาม…เป็นเรื่องของการแข่งขัน competition ลีกเยาวชน ไม่เห็นใครจะใส่ใจจริงจัง ให้เป็น quality competition มีก็มีแบบขอไปทีหรือไม่จัดแข่งขันซะดื้อๆก็มี ทั้งที่รู้ๆอยู่แก่ใจว่าcompetition drive development”
“ข้อสี่..international match. อีนนี้ลืมไปได้เลย เยาวชน 16ปี 19ปีของหลายๆประเทศที่ไม่ล้าหลังและมีวิสัยทัศน์ เขาเตะกับ ทีมเก่งและแกร่งอย่าง อเมริกาใต้ ยุโรป เราก็แค่เตะกันเอง หรือกับบ้านใกล้เรือนเคียง”
“ข้อห้า..coaches จากแปดสิบ ตอนนี้มีเป็นพัน กว่าจะโน้มแน้วใครสักคนให้มาประจำอยู่ในประเทศไทยเกือบจะหมดความอดทน”
“ข้อหก talent identification and academies ก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจ อย่างอะคาเดมี่ เรายังไม่ยอมเข้าร่วมโครงการกับเขาเลย ทุกสโมสรสร้างแต่หลังคา ฐานรากไม่ยอมปู เวลาแพ้ก็บ่นว่าสมาคมฯและไปลงที่โค้ช”
“ข้อเจ็ด… human resources (good develope prople)ถ้าเราไม่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ เราจะไปสู้ใครเขา เขาก็บอกอยู่แล้วว่าสิ่งที่สามารถทดแทนการขาดบุคลกรก็คือknowledge เราคงต้องร่วมมือกันให้มันเกิดการพัฒนาจริงๆจังๆอย่าให้ใครเขาพูดอีกว่าเรายังล้าหลัง20ปี….!?!?” ข้อความของ “โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล
สำหรับโครงการ Grow Together ได้รับการสนับสนุนและกำกับดูแลจากผู้เชี่ยวชาญจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ภายใต้แนวคิด FIFA Talent Development Scheme