มูลค่าของเหรียญรางวัลในโอลิมปิกยุคโควิด-19
เราเห็นอะไรจากโอลิมปิก โตเกียว2021 ที่แข่งขันท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 กันบ้าง
ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้นทั้งโลก กีฬาโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น เริ่มต้นขึ้นสวนกระแสการต่อต้านเกือบทุกด้านว่าพร้อมจริงๆ หรือ ในการควบคุมการแพร่ระบาดครั้งนี้ หรือจะเป็นคลัสเตอร์ใหญ่กันแน่ และอีกสิ่งที่ตามมาคือความพร้อมของนักกีฬา ทีมสต๊าฟที่ต้องปรับตัว กับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในการจัดการแข่งขัน การเตรียมทีม การเตรียมร่างกาย ตั้งแต่รอบคัดเลือก จนถึงการเตรียมร่างกายเพื่อเข้าแข่งขัน เพราะบางชนิดกีฬาก็ต้องรู้เวลาที่แน่นอนในการเตรียมกล้ามเนื้อ และองค์ประกอบอื่นๆ
หลายประเทศยอมรับในความไม่พร้อมและสละสิทธิ์
แต่สิ่งที่สวนทางกันและเหมือนจะมากขึ้นก็คือ ความหวังของคนในชาติ ว่าจะเห็นความสำเร็จเกิดขึ้น เพื่อประเทืองความสุขในยุคการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ตีกลับไปเป็นแรงกดดันของนักกีฬา โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจต่างๆ
เราเห็นนักเทนนิสเจ้าถิ่น มือหนึ่งของของรายการ นาโอมิ โอซากะ ที่ยอมรับตัวเองว่ากดดันและแบกความหวังของชาวญี่ปุ่นไม่ไหว พ่ายตกรอบไปตั้งแต่ไก้โห่
เราเห็นตัวเต็ง 6 เหรียญทอง ความหวังแห่งอเมริกา ซิโมน ไบลส์ สละสิทธิ์ถอนตัวกลางคันในโอลิมปิก ทั้งที่นักกีฬายิมนาสติกชาวอเมริกันรายนี้ เธอเป็นเจ้าของ 4 เหรียญทองจากการแข่งขันเมื่อปี 2016 ริโอ ด้วยเหตุผลทางจิตใจที่เธอไม่สามารถแบกมันเอาไว้ได้
ซึ่งกลายเป็นประเด็นให้สื่อยักษ์ใหญ่ในอเมริกาถล่มเละ ด้วยมองว่านักกีฬาใน Gen Z อ่อนไหวเกินไปหรือเปล่า จนต้องมีนักจิตวิทยาของ IOC ก็ออกมาแถลงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่มากขึ้นของนักกีฬากลุ่มนี้
เราเห็นเทควันโด้ เกาหลีใต้ ต้นตำรับกีฬาประเภทนี้ไม่มีเหรียญทองสักเหรียญเป็นครั้งแรก
เราเห็นทีมบาสเก็ตบอล USA พ่ายแพ้ต่อทีมชาติ ฝรั่งเศษ แม้รอบชิงชนะเลิศ จะรวมพลังกลับมาคว้าเหรียญทองก็ตาม
เราเห็นเบสบอลญี่ปุ่น คว่ำ สหรัฐได้ ในรอบชิงชนะเลิศ แบบที่หลายคนเคยเห็นแต่ในคอมมิค มันเหมือนภาพฝันของชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
เราเห็นอินโดนีเซีย กวาดเหรียญแบดมินตัน โดยที่จีนทำได้แต่มองตาปริบๆ เป็นครั้งแรก จนเป็นเหตุให้สื่อในจีนกระทุ้งถึงความไม่รักชาติ ของนักกีฬาความหวังที่พลาดเหรียญทอง
เราเห็นเหรียญทองแรก ของทัพนักกีฬาฟิลิปปินส์จาก ฮิดิลิน ดิอาซ นักยกน้ำหนักสาว ที่คว้าเหรียญทองแรกของโอลิมปิก สร้างประวัติศาสตร์ให้กับประเทศของตัวเอง
เราเห็นการแบ่งเหรียญทองของนักกีฬากระโดดสูง ชาวกาตาร์ และอิตาลี่ เพราะเข้าใจถึงความต้องการของกันและกัน
เราเห็นความยากลำบากในการเดินทางสู่แต่ละความสำเร็จ และความสุขของแต่ละทีมที่ได้รับเหรียญรางวัล และความกดดันต่างๆนานาที่แฟนกีฬาแต่ละประเทศหยบยื่นให้เมื่อผิดหวังต่อทีมชาติของตัวเอง ซึ่งมันถาโถมมากกว่าครั้งไหนๆ เพราะโลกใบนี้เปลี่ยนผ่านสู่ยุคอินเตอร์เน็ตและโซเซียลมีเดีย แบบเต็มตัว
มันมาทันทีที่ผลการแข่งขันจบลง หรือในระหว่างการแข่งขันด้วยซ้ำ ที่สำคัญมันเกินอำนาจใดจะควบคุม พร้อมจะทำร้าย หรือลงโทษได้ทันทีที่นักกีฬาของตัวเองทำพลาด และพร้อมจะเชิดชูเมื่อผลงานได้ตามที่ต้องการ มันมีทั้งผลบวกที่ดีมาก และผลลบที่รุนแรง ไม่ต้องรอหนังสือพิมพิ์ฉบับเช้าวางแผงเมื่อสมัยก่อน
เมื่อมีเหรียญ ชื่อเสียง เงินทอง และทุกๆ อย่างวิ่งเข้าหาทันที นั้นคือสิ่งที่ตอบแทนความตั้งใจของการทุ่มเทและเสียลสะเวลาในชีวิตมาโฟกัสที่เป้าหมาย ซึ่งนั้นมันทำให้คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
ยิ่งในยุคการแพร่ระบาดโควิด-19 เป้าหมายของทีมกีฬาทุกทีม นอกเหนือจากการเอาชนะคู่แข่ง การทำสถิติแล้ว การเอาชนะข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ทำให้อาจกลายเป็นข้ออ้างในอนาคตของตัวเอง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเอาชนะมัน ดังนั้นเมื่อหลายคนข้ามผ่านมันไปก็เหมือนลดแรงกดดันลงไปได้ระดับหนึ่ง และหากไปได้จนถึงเหรียญใดเหรียญหนึ่ง มันก็จะเป็นพลังงานบวกส่งตรงไปถึงคนทั้งประเทศ
ซึ่งทางจิตวิทยา มันคือเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอารมณ์ของคนทั้งชาติจริงๆ หากใครพอตามข่าวโอลิมปิกครั้งนี้ จะเห็นว่าสำนักข่าวอเมริกาบางสำนัก เอาชื่อ USA ขึ้นเป็นชื่อแรกบนสุดในอันดับตารางเหรียญ เหนือจีน ที่มีเหรียญรางวัลเยาะกว่า เพราะมันส่งผลทางจิตวิทยาของคนทั้งประเทศ
เช่นกัน หันกลับมาที่บ้านเรา ลูกเตะใน 7 วินาทีสุดท้ายของ น้องเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เฉือนเอาชนะคู่แข่ง 1 แต้ม คว้าเหรียญทองเหรียญแรกให้กับสมาคมเทควันโด้ไทย และเป็นเหรียญทองเดียวในโอลิมปิกครั้งนี้ มันสร้างความสุขมหาศาลให้กับชาวไทย วินาทีนั้น เราลืมโควิด-19 เราลืมการถกเถียงเรื่องการเมือง มันลดความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาลงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย มวลความสุขมันพุ่งสูงขึ้น มันมากกว่าชัยชนะของนักกีฬาคนเดียว
ไม่ว่าโต๊ะกาแฟ หรือโซเซียลมีเดีย พูดกันแค่เรื่องเดียว
และคงไม่เพียงแค่บ้านเรา ที่เหรียญโอลิมปิดจะสร้างความสุขให้เกิดขึ้น น่าจะทุกประเทศทั่วโลก ดังนั้นมูลค่าของเหรียญรางวัลในโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้จะมากกว่าครั้งไหนๆ เพราะมันลดความอึดอัดของมหาวิกฤติการแพร่ระบาดลงได้ ยิ่ง OIC ออกมาชื่นชมการจัดการแข่นครั้งนี้ว่ามีระบบการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีเยี่ยม ก็เป็นสัญญานหนึ่งว่าหากมีมาตรการที่เอาจริงเอาจัง ก็สามารถที่จะอยู่กับมันได้ และทำให้ความหวังที่จะเห็นการจัดการแข่งขันในระดับอื่นๆ เกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่อะไรใหญ่กว่าโอลิมปิกแล้วล่ะ
ทั้งหมดคือโอลิมปิกที่เปลี่ยนไปจากเดิม วงการกีฬาทั่วโลกจะมีเรื่องคุยกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของจิตวิทยาของนักกีฬาที่เติบโตขึ้นมากับยุคของโซเซียลมีเดีย เพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่ออยู่ฝั่งตรงข้าม ไม่ว่าคุณจะอยู่ระดับไหนในวงการกีฬาก็ตาม
จากโตเกียวโอลิมปิก โฉมหน้าของกีฬาโอลิมปิกจะเปลี่ยนไปตลอดกาล