อังกฤษเข้าชมได้ แล้วไทยลีกเมื่อไหร่ จะมีแฟนบอลในสนาม
ฟุตบอลอังกฤษ ถือเป็นอุตสาหกรรมสร้างเงินระดับต้นๆ ของเมืองผู้ดี มีเม็ดเงินจากทั่วโลกเข้ามาซับพอร์ตและเกี่ยวพันธ์มากมาย ด้วยวิถีฟุตบอลอาชีพที่มีมากว่า 100 ปี ยาวนานที่สุดของโลก เป็นวัฒนธรรมของคนอังกฤษ ที่การออกกฏหมายบางครั้งยังต้องเอาฟุตบอลมาใช้อ้างอิง และรองรับในสภาด้วยซ้ำ เพราะมันมีมูลค่ามหาศาลและส่งผลกระทบหลายๆ ด้านทั้งคนในวงการฟุตบอลหรือแม้แต่ความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นของอังกฤษเองด้วยซ้ำ และพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ยังเป็นต้นแบบให้กับวงการฟุตบอลทั่วโลก รวมทั้ง ไทยลีก ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน
จากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าโวิด-19 รัฐบาลอังกฤษประกาศล็อกดาวน์และใช้มาตรการที่เข้มข้นในช่วงแรก ทำให้มีการเลื่อนและหยุดพัก การแข่งขันพรีเมียร์ลีกเป็นระยะ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งก็เหมือนกันกับอีกหลายประเทศ แต่ ในช่วงการระบาดที่หนักขึ้นตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึง 50,000 รายต่อวัน แม้มาตรการยังเข้มข้นอยู่ รัฐบาลก็อนุญาตให้มีการแข่งขันพรีเมียร์ลีกได้แบบไม่มีผู้ชม เพื่อให้อุตสาหกรรมฟุตบอล ไม่เสียหายมากนัก
ในขณะที่การแข่งขันฟุตบอลยูโร2020 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพร่วม ทำให้ต้องเปิดประเทศให้มีการเข้าชม แม้ว่าจะจำกัดจำนวน แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นคลัสเตอร์ใหม่ที่คงสร้างกระแสด้านนลบสู่ผู้นำและประเทศอย่างไม่สามารถประเมินได้
วันนั้นอังกฤษฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว 60-70%
แล้วฟุตบอลยูโรก็ดำเนินไปจนจบการแข่งขัน และก้าวมาสู่ฤดูกาลใหม่ของพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ที่รัฐบาลก็อนุมัติผ่อนปรนให้มีการเปิดให้แฟนบอลเข้าชมในสนามได้ ถุงไม่เต็มความจุ แต่จากการแข่งขันระหว่างเลสเตอร์ซิตี้และแทนเชสเตอร์ซิตี้ ในถ้วย FA Community Shield ที่ทำให้เห็นว่าสีสันฟุตบอลที่มีผู้ชมในสนาม มันสนุกตื่นเต้นกว่ากันขนาดไหน ถึงจะชมผ่านจอถ่ายทอดสดก็ตาม
และที่น่าตกใจกว่า คือการที่รัฐบาลออกมาประกาศ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมาคือ ประกาศวัน Freedom Day หรือวันที่เป็นอิสระจาก COVID-19 ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้แล้ว คำประกาศนั้นเรียกเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายมาก บางฝ่ายก็บอกว่านี่คือ ‘การทดลอง’ ที่ทั้งอันตรายและไร้จริยธรรม เพราะมันอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดกว้างไกลขึ้นมาได้อีกหน
แต่กลับกันจากช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อในอังกฤษจาก 50,000 ต่อคนต่อวัน เหลือเพียง 2 หมื่นต้นๆ เท่านั้น
วัคซีนที่ฉีดไป 1-2 โดสแรก ไม่สามารถเอาสายพันธ์ใหม่อยู่ด้วยซ้ำ แต่รัฐบาลอังกฤษกลับเลือกการอยู่รวมกันของเชื้อและการเดินต่อไปให้ได้ของธุรกิจ ที่สำคัญคือความสุขของประชาชน จึงทำกล้าหาญพอที่จะเปิดให้คนอังกฤษกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ให้ฟุตบอลกลับมาจัดการแข่งขันและมีผู้ชมได้
กลับมาที่ฟุตบอลไทยลีก ฤดูกาลใหม่2021-2022 ที่ขยับเลื่อนมา 2-3 รอบแล้ว จากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล โดยเฉพาะครั้งล่าสุด 23 จังหวัด ทำให้มากกว่า 80% ของสโมสรตั้งอยู่ในพื้นที่ล็อกดาวน์ในครั้งนี้ ตั้งแต่ไทยลีก 1-3
แม้ไทยลีกจะประกาศไม่จัดการแข่งขันฟุตบอลกึ่งอาชีพอย่าง TA และฟุตบอลยูธลีกก็จัดไม่ครบทุกรุ่น หรือปีนี้อาจจะไม่ได้จัดด้วยซ้ำ เพื่อความปลอดภัย แต่ก็ยังอยู่ในภาวะการเตียมทีมอย่างคลุมเครือ เพราะไทยลีกประกาสไทม์ไลน์การแข้งขันออกมาแล้วแต่ไม่สามารถหาบทสรุปใดๆ ได้
พร้อมรอยต่อสำคัญของผู้สนับสนุนและลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินสนับสนุนทีมได้เยอะเหมือนที่ตั้งใจไว้
คำถามจึงตกไปอยู่ที่สมาคมฟุตบอลฯ ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ล่าสุดจึงตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหา และเพื่อให้เกิดการแข่งขันฯให้ได้ ไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตาม
โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยลีก ได้ร่วมกับ กกท. จัดการฉีดวัคซีนให้กับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีม ในไทยลีก 1-3 ไป เพื่อหวังว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาครัฐ ถึงความพร้อมในการขออนุมัติกลับมาจัดการแข่งขันแบบปิดให้ได้ เพราะถ้าหากทำให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ ฟุตบอลก็จะเป็นจำเลยของสังคมเช่นกัน
เรื่องการเข้าชมนั้นคงเป็นไปได้ยาก เพราะถึงวันนี้(9 สค.) ยอดผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกยังอยู่ 21% เท่านั้น
ยังคงต้องลุ้นและฝากความหวังของวงการฟุตบอลไว้กับคณะทำงานทุกท่าน เพราะหากไไทยลีก 2021-2022 ไม่ได้จัดจริงๆ ผลกระทบต่อวงการฟุตบอลจะมหาศาลแบบที่อาจต้องตั้งไข่กันใหม่อีกหลายปีแน่นอน